เป็นการละเล่นที่ผู้คนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ชื่นชอบมาตั้งแต่โบราณ โดยเป้าหมายในการแข่งว่าวของชาวเกาหลี คือ ชักว่าวของตนให้ไปตัดสายป่านว่าวของฝ่ายตรงข้ามให้ขาดจนหัวปักลงดินให้ได้ ว่าวรูปสี่เหลี่ยม (ยอน) ทำขึ้นด้วยการขึงไม้ไผ่บนแผ่นกระดาษชังโฮจิตามขวางและเย็บเข้าติดกัน และสายป่านมักทำจากไหมที่โรยเศษกระเบื้อง หรือกากเพชรละเอียดเคลือบไว้เพื่อให้คม เพียงเท่านี้ ว่าวก็พร้อมจะถูกปล่อยให้ลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า การเล่นว่าวเป็นที่นิยมกันมาก โดยเฉพาะในวันประเพณีต่างๆ เช่นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ หรือวันฉลองอื่นๆของชาวบ้าน มีการชิงชนะเลิศการเล่นว่าวไปหลายๆเมืองในเกาหลี หรือวันอาทิตย์ที่ลมดี จะมีสมาชิกชมรมว่าวของกรุงโซลออกมาแข่งขันกันที่สวนสาธารณะฮันกัง งานเทศกาลว่าวนานาชาติของที่นี่ จะจัดขึ้นในเดือนแรกของปีตามปฏิทินทางจันทรคติ
พาดุก หรือในภาษาญี่ปุ่น เรียกว่า “โกะ” หรือหมากล้อม เป็นการละเล่นแบบกระดาน โดยมีผู้เล่น 2 คน แข่งกันยึดครองพื้นที่บนกระดาน กระดานพาดุกจะตีเส้นตรงตัดกัน ในแนวตั้งและแนวนอน ด้านละ 19 เส้น ตัวหมากแบ่งเป็นหมากขาวและหมากดำ ในสมัยโกคูรยอและแพ็กเจ พาดุกถือเป็นการละเล่นสำหรับขุนนางชั้นสูงและเพิ่งจะ กลายมาเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ชาวบ้านเมื่อหลังปี 1945 นี้เท่านั้น ปัจจุบันเกาหลีมีศาลาเล่นพาดุกตั้งอยู่ตามเมืองต่างๆ แทบจะทุกแห่งก็ว่าได้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่จะชอบเล่นพาดุกกัน นอกจากจะเล่นเพื่อความสนุกสนานแล้ว ยังช่วยฝึกสมองให้รู้จักคิดและเล่นยากกว่าหมากรุก พาดุกจึงได้รับความนิยมเล่นอย่างแพร่หลาย ในภาคตะวันออกไกลและทั่วโลก บัดนี้กลายเป็นการละเล่นระดับสากลไปแล้ว
กระดานหกเป็นประเพณีการละเล่นแบบชาวบ้านสำหรับสุภาพสตรี วิธีการก็คล้ายกับม้ากระดกแบบตะวันตก นั่นคือ มีแผ่นไม้ยาว ซึ่งส่วนกลางจะตั้งอยู่บนกองฟางที่แห้งแข็ง ผู้เล่นจะมี 2 คน โดยแต่ละคนจะผลัดกันกระโดดลงบนลายไม้แต่ละข้าง ส่งให้อีกฝ่ายตัวลอยขึ้นกลางอากาศ การละเล่นนี้มักจะเล่นกันในวันหยุดตามประเพณีต่างๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ วันชูซก หรือวันทาโน๊ะ ซึ่งจัดในช่วงฤดูใบไม้ผลิมาแต่ครั้งโบราณ การละเล่นเหล่านี้คิดค้นขึ้นเพื่อให้สตรีชั้นสูงของเกาหลีในสมัยโบราณ มีโอกาสได้มองเห็นความเป็นไปของโลกนอกกำแพงบ้านอันสูงใหญ่บ้าง เพราะพวกนางไม่ได้รับอนุญาตให้ออกนอกบ้านในเวลากลางวัน
ไพ่เกาหลีเรียกว่า ฮวาทู มีขนาดเท่ากลักไม้ขีดไฟ 1 สำรับมีไพ่ทั้งหมด 48 ใบ แทนเดือนทั้ง 12 เดือนใน 1 ปี ดังนี
ถ้ามีการลงเงินเดิมพัน เกมก็จะยิ่งสนุก นอกจากนี้ยังใช้ไพ่ในการทำนายโชคชะตาได้อีกด้วย
ชิงช้านี้ก็เป็นการละเล่นแบบชาวบ้านอีกอย่างหนึ่ง ที่นิยมเล่นกันในหมู่สุภาพสตรีเช่นเดียวกับนอลตุยกี และนิยมเล่นกันในวันทาโน๊ะ คึเนเป็นชิงช้าของเกาหลีทำขึ้นโดยใช้เชือก 2 เส้น ซึ่งมีความยาว 6 เมตร ผูกติดกับแผ่นไม้และนำไปแขวนติดกับต้นไม้สูงหรือผูกติดกับไม้ซุง ซึ่งต่อเป็นคานแล้วแกว่งตัวขึ้นไปกลางอากาศอย่างสนุกสนาน หญิงสาวชาวเกาหลีจะโล้ชิงช้าคึเนนี้ไปได้สูงทีเดียว คึเนตุยกีจึงเป็นการละเล่นที่ชาวบ้านทุกเพศทุกวัยเล่นกันในระดับประเทศ
เป็นเกมที่ผู้สูงอายุนิยมเล่นกันตามริมถนนโดยใช้แท่งไม้ยาว 10 นิ้ว 4 แท่ง โยนขึ้นไปกลางอากาศ ผู้เล่นจะเดินเบี้ยของตนไปตามจำนวนแท่งไม้ที่หงายขึ้นหรือคว่ำลง เพื่อนำเบี้ยทั้ง 4 ตัวไปถึงเส้นชัย ชาวเกาหลีนิยมเล่นกันในเดือนมกราคมตามจันทรคติ และเป็นการละเล่นของเกาหลีแท้ๆ ยุท เป็นคำๆหนึ่งในเกมนี้ (โด, เก, กล, ยุท และโม) หมายความว่า “สี่” เกมมีความคล้ายคลึงกับเกมพาชีสิ แต่การเล่นแบ่งออกเป็น 2 ทีม ซึ่งจะเดินหมากไปรอบๆ หลังจากการโยนไม้
เกาหลีรับเอาหมากรุกจากแถบเมโสโปเตเมียผ่านเข้ามาทางประเทศจีน ชายชาวเกาหลีมักจับกลุ่มเล่นหมากรุกกันทั้งตามบาทวิถี ในร้านค้าและตามสวนสาธารณะ ชางกีเป็นการละเล่นแบบกระดานคล้ายหมากรุก กระดานและตัวหมากเดินทำด้วยไม้หรือพลาสติก มีผู้เล่น 2 คน ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะมีหมาก 16 ตัว ประกอบด้วย ขุนหนึ่ง รถศึกสอง ปืนใหญ่สอง ม้าสอง ช้างสอง องครักษ์รักษาวังสอง และพลทหารอีกห้า โดยจะเขียนสัญลักษณ์อักษรจีนเอาไว้บนตัวหมาก ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องรุกฆาตขุนของฝ่ายตรงข้ามให้ได้ บรรดานักเล่นหมากรุกทั้งหลายย่อมรู้จักตัวพระราชา เรือ ม้า และเบี้ยอื่นๆ แต่คงไม่เคยเห็นช้างและปืนใหญ่ซึ่งไม่มีในหมากรุก